1. อย่าโยนความผิด
เป็น ไปไม่ได้ที่จะเป็นความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 100% ดังนั้นให้ยอมรับว่าคุณมีส่วนในปัญหานี้ และอธิบายว่าการกระทำของอีกฝ่ายทำให้คุณรู้สึกอย่างไร
2. ทำตัวเป็นผู้ใหญ่
อย่าอาละวาดหมือนเด็กดื้อรั้น และอย่ายอมกับก้มหัวงก ๆ หรือทำตัวโหดร้าย เพราะจะทำให้สิ่งที่คุณพูดไม่มีน้ำหนัก
3. อย่าเริ่มด้วยการเอาชนะ
ถ้าคุณเป็นคู่รักก็ต้องร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ใช่คิดจะเอาชนะ
4. พยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย
ลองเอาใจเขามาใส่ใจคุณและบอกเขาว่าคุณกำลังพยายามทำความเข้าใจเขา
5. เน้นปัญหาตรงหน้าเท่านั้น
อย่ารื้อฟื้นทุกเรื่องที่คุณหงุดหงิดในช่วงสองสามเดือนก่อนมาคุยรวมในครั้งนี้ ให้หาเวลาอื่นพูดถึงปัญหาอื่นจะดีกว่า
6. ฟังอีกฝ่ายพูด
อย่า พูดหรือตะโกนใส่เขาตอนที่เขากำลังพูด การทะเลาะคือการที่สองฝ่ายหาเหตุผลมาแย้งกัน ดังนั้นต้องให้โอกาสอีกฝ่ายพูด จากนั้นให้ทำความเข้าใจและยอมรับสิ่งที่เขาพูดมา
7. รู้ว่าควรยุติเมื่อไหร่
อย่าพร่ำพูดเรื่องนี้นานหลายชั่วโมง ทั้งที่ได้พูดทุกอย่างไปหมดแล้ว เมื่อคุณสงบอารมณ์สักสองวัน ก็อาจพบว่าทุกอย่างคลี่คลายแล้ว
8. อย่าตะโกน เพราะสิ่งที่เขาได้ยินคือเสียงของคุณจนไม่ได้ตั้งใจฟังสิ่งที่คุณกำลังพูด อีกอย่างเวลาคุณแผดเสียง คุณจะพูดชัดน้อยลง
9. อย่าหาเรื่องทะเลาะ
ถ้า คุณมีปัญาหาจากที่ทำงานหรือหงุดหงิดกับเด็ก ๆ อย่าระบายอารมณ์ใส่เขา บอกเขาอย่างสงบว่า คุณรู้สึกอย่างไรแทนที่จะหาเรื่องว่าใครลืมเทขยะ
10. หัวเราะเข้าไว้
อารมณ์ ขันสามารถทำให้สถานการณ์แทบทุกรูปแบบสงบลง แต่อย่าใช้อารมณ์ขันขณะที่อีกฝ่ายกำลังระบายความในใจ ควรเลือกจังหวะที่จะใช้เสียงหัวเราะผ่อนคลายความตึงเครียด
เป็น ไปไม่ได้ที่จะเป็นความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 100% ดังนั้นให้ยอมรับว่าคุณมีส่วนในปัญหานี้ และอธิบายว่าการกระทำของอีกฝ่ายทำให้คุณรู้สึกอย่างไร
2. ทำตัวเป็นผู้ใหญ่
อย่าอาละวาดหมือนเด็กดื้อรั้น และอย่ายอมกับก้มหัวงก ๆ หรือทำตัวโหดร้าย เพราะจะทำให้สิ่งที่คุณพูดไม่มีน้ำหนัก
3. อย่าเริ่มด้วยการเอาชนะ
ถ้าคุณเป็นคู่รักก็ต้องร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ใช่คิดจะเอาชนะ
4. พยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย
ลองเอาใจเขามาใส่ใจคุณและบอกเขาว่าคุณกำลังพยายามทำความเข้าใจเขา
5. เน้นปัญหาตรงหน้าเท่านั้น
อย่ารื้อฟื้นทุกเรื่องที่คุณหงุดหงิดในช่วงสองสามเดือนก่อนมาคุยรวมในครั้งนี้ ให้หาเวลาอื่นพูดถึงปัญหาอื่นจะดีกว่า
6. ฟังอีกฝ่ายพูด
อย่า พูดหรือตะโกนใส่เขาตอนที่เขากำลังพูด การทะเลาะคือการที่สองฝ่ายหาเหตุผลมาแย้งกัน ดังนั้นต้องให้โอกาสอีกฝ่ายพูด จากนั้นให้ทำความเข้าใจและยอมรับสิ่งที่เขาพูดมา
7. รู้ว่าควรยุติเมื่อไหร่
อย่าพร่ำพูดเรื่องนี้นานหลายชั่วโมง ทั้งที่ได้พูดทุกอย่างไปหมดแล้ว เมื่อคุณสงบอารมณ์สักสองวัน ก็อาจพบว่าทุกอย่างคลี่คลายแล้ว
8. อย่าตะโกน เพราะสิ่งที่เขาได้ยินคือเสียงของคุณจนไม่ได้ตั้งใจฟังสิ่งที่คุณกำลังพูด อีกอย่างเวลาคุณแผดเสียง คุณจะพูดชัดน้อยลง
9. อย่าหาเรื่องทะเลาะ
ถ้า คุณมีปัญาหาจากที่ทำงานหรือหงุดหงิดกับเด็ก ๆ อย่าระบายอารมณ์ใส่เขา บอกเขาอย่างสงบว่า คุณรู้สึกอย่างไรแทนที่จะหาเรื่องว่าใครลืมเทขยะ
10. หัวเราะเข้าไว้
อารมณ์ ขันสามารถทำให้สถานการณ์แทบทุกรูปแบบสงบลง แต่อย่าใช้อารมณ์ขันขณะที่อีกฝ่ายกำลังระบายความในใจ ควรเลือกจังหวะที่จะใช้เสียงหัวเราะผ่อนคลายความตึงเครียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น