| ||||||||
ปางที่ 1 : พระบาล คณปติ (Bala Ganapati) เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็ก คลานอยู่กับพื้น หรืออิริยาบทอื่นๆ เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนลักษณะ มีวรรณะสีแดงเข้มมี 4 กร นิยมบูชาในบ้านเรือน หรือโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลและชั้นประถม สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น ฯลฯ
ปางที่ 2 : พระตรุณ คณปติ (Taruna Ganapati) วรรณะสีแดงอมส้มเหมือนอาทิตย์ยามแรกอรุณ มี 8ทรงข้าว ต้นอ้อย ตะบอง บ่วงบาศ งาหัก นิยมตั้งบูชาไว้ตามสถานศึกษา มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาววัยกระตือรือร้น
ปางที่ 3 : พระภักติ คณปติ (Bhakti Ganapati) วรรณะสีขาวบริสุทธิ์ดั่งพระจันทร์เต็มดวงในฤดูเก็บเกี่ยว มี 4ทรงมะม่วง กล้วย ลูกมะพร้าว บูชาเพื่อความสุขสมหวังในชีวิต หรือเพื่อหลุดพ้น
ปางที่ 4 : พระวีระ คณปติ (Veera Ganapati) วรรณะสี แดงโลหิต มี 16 กร ทรงอาวุธ และสิ่งมงคลต่างๆคือ โล่ หอก ค้อน คทา ธงชัย จักรตรา พญางู ขวาน คันศร ลูกศร ตรีเพชร ขอสับช้าง อสูร กระบี่ ตะบอง และบ่วงบาศ พระกรเหล่านั้นกางออกประดุจรัศมีอำนาจแห่งดวงอาทิตย์ อำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท
ปางที่ 5 : พระศักติ คณปติ (Shakti Ganapati) วรรณะสีแป้งจันทร์ มี 4 กร ประทานพรทรงมาลัย บ่าวบาศ และกรหนึ่งโอบพระชายาที่ประทับอยู่หน้าตักด้านซ้าย อำนวยผลให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
ปางที่ 6 : พระทวิชา คณปติ (Dwija Ganapati) วรรณะสีขาวมี 4 เศียร 4ทรงลูกปะคำ ไม้ครู(หรือพลอง) กาน้ำ และคัมภีร์ อำนวยผลให้กับผู้ประกอบกิจการต่างๆ นักธุรกิจ นักลงทุน นักสำรวจ นักบุกเบิก คนทำงานต่างแดน เป็นต้น
ปางที่ 7 : พระสิทธิ คณปติ (Siddhi Ganapati) วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงช่อดอกไม้ มะม่วง ต้นอ้อย และขวาน ส่วนงวงนั้นชูขนม อำนวยผลด้านทรัพย์สินเงินทอง และความอุดมสมบูรณ์
ปางที่ 8 : พระอุจฉิษฏะ คณปติ (Uchhishta Ganapati) วรรณะสีฟ้าเทาดุจเมฆา มี 6 กร ประทับนั่งโดยพระกรหนึ่งโอบอุ้มศักติชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย อำนวยผลให้เกิดเสน่ห์ และความสำเร็จในด้านต่างๆตามแต่จะขอพร
ปางที่ 9 : พระวิฆณา คณปติ (Vighna Ganapati) วรรณะสีทองคำ มี 8 กร ทรงมาลัย ขวาน ดอกไม้ จักรตรา หอยสังข์ ต้นอ้อย(เป็นคันศร) บ่วงบาศ และตะบอง อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน
ปางที่ 10 : พระกษิประ คณปติ (Kshipra Ganapati) วรรณะสีแดงเข้มดุจกุหลาบ มี 4 กร เป็นผู้ให้ศีลให้พร ประทานพรให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน
ปางที่ 11 : พระเหรัมภะ คณปติ (Heramba Ganapati) วรรณะสี ขาว มี 5 เศียร 10 กร ประทับนั่งบนหลังสิงโต หมายถึง พลังอำนาจในการปกครองบริวาร กางพระกรประดุจรัศมีคุ้มกันสรรพภัย พระหัตถ์ซ้ายประทานพร พระหัตถ์ขวาอำนวยพรทรงมะม่วง ลูกประคำ ขนมโมทกะ งาหัก บ่วงบาศ ค้อน ขวาน เป็นปางหนึ่งที่พระราชาในอินเดียนิยมบูชากันมาก อำนวยผลด้านการปกป้องคุ้มครองบริวาร การบริหาร ปกครองของผู้นำ
ปางที่ 12 : พระมหา คณปติ (Maha Ganapati) วรรณะสีแดง มี 10 กร 3 เนตร ประดับจันทร์เสี้ยวบนมงกุฎปางนี้ทรงอุ้มชายา คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิไว้บนตักทั้งสองข้าง อำนวยผลให้ครอบครัวเกิดความสมบูรณ์พูนสุข มีทรัพย์สิน และบริวารมาก
ปางที่ 13 : พระวิชัย คณปติ (Vijaya Ganapati) อำนวยผลทางปัญญาให้กับครูบาอาจารย์ ปัญญาชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน และช่างฝีมือทุกแขนง
ปางที่ 14 : พระลักษมี คณปติ (Lakshmi Ganapati) วรรณะสี ขาว มี 8 กร เป็นเทพแห่งการให้ที่บริสุทธิ์ สีขาวหมายถึงการมีสติปัญญาสูงส่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างโอบอุ้มพระชายา 1 หรือ 2 พระองค์ คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิ (บางตำราว่าหนึ่งในนั้นคือพระลักษมี จึงเรียกว่า ลักษมี คณปติ) อำนวยผลทางด้านสติปัญญา และความมั่งมีศรีสุข
ปางที่ 15 : พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati) วรรณะสี เหลืองทอง มี ๔ กร เป็นนักเต้นร่ายรำระบำฟ้อน และเป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้ชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัวทรงะบอง บ่วงบาศ และขวาน ควรตั้ง บูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆตามความเหมาะสม
ปางที่ 16 : พระอุทวะ คณปติ (Urdhva Ganapati) วรรณะสีทอง มี 6 กร พระกรข้างหนึ่งโอบพระชายาไว้บนตัก ด้านซ้ายทรงถือดอกบัว ในนิกายตันตระ นิยมบูชาปางนี้เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีด้านเสน่ห์ อำนวยผลให้สมปรารถนาทุกประการ
ปางที่ 17 : พระเอกอักษรา คณปติ (Ekaakshara Ganapati) วรรณะสีแดง มี 4 กร มีดวงตาที่สาม ประดับจันทร์เสี้ยวอยู่เหนือเศียร อำนวยผลด้านป้องกันอาถรรพณ์ และคุณไสยสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ร่ำเรียนด้านพระเวท หรือสรรพศาสตร์ด้านต่างๆ
ปางที่ 18 : พระวระ คณปติ (Vara Ganapati) วรรณะสี แดง มี 4 กร 3 เนตร มีดวงตาที่สาม อันเป็นดวงตาแห่งสติปัญญา และมีจันทร์เสี้ยวประดับเหนือเศียร กรหนึ่งโอบกอดชายาบนตักทรงชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ ที่งวงชูโถใส่น้ำผึ้ง อำนวยผลให้สมหวังในความรัก ควรตั้งบูชาไว้ในร้านเสื้อผ้า ร้านค้าที่เกี่ยวกับการสมรส การแต่งงาน และความรัก ฯลฯ
ปางที่ 19 : พระตรีอักษรา คณปติ (Tryakshara Ganapati) วรรณะสีทอง มี 4ทรงะบอง บ่วงบาศ มะม่วง และมีขนมโมทกะอยู่ที่งวง อำนวยผลด้านการเรียนพระเวท และอักษรศาสตร์
ปางที่ 20 : พระกศิปะ ปรสัท คณปติ (Kshipra-Prasada Ganapati) วรรณะสี แดง มี 6 กร ท้องที่ใหญ่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งโภคทรัพย์ และความรอบรู้อันกว้างไกลทรง้นทับทิม ตะบอง บ่วงบาศ ดอกบัว และผลทับทิม เหมาะสำหรับตั้งบูชาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัย สถานอบรมวิชาชีพต่างๆ หรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
ปางที่ 21 : พระหริทรา คณปติ (Haridra Ganapati) วรรณะสี เนื้อ หรือสีเหลืองอ่อน มี 3 เนตร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ ใช้อำนาจของบ่วงเพื่อร้อยรัดศรัทธาของผู้เลื่อมใส และตะบองผลักดันให้ก้าวเดินไปข้างหน้า อำนวยผล ให้ทุกคนที่อยากมีเสน่ห์ และร่ำรวย เช่น ดารานักแสดง นักดนตรี นักร้อง ดีเจ พิธีกร หรือผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งต้องใช้พรสวรรค์ และเสน่ห์ส่วนตัว
ปางที่ 22 : พระเอกทันตะ คณปติ (Ekadanta Ganapati) อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทุกสิ่งตามแต่จะอธิษฐาน
ปางที่ 23 : พระสะริสติ คณปติ (Shrishti Ganapati) วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ขี่หนูเป็นพาหนะทรงะบอง มะม่วง และบ่วงบาศ อำนวยผล ให้กับผู้ประกอบอาชีพด้านการเดินทางที่ไม่หยุดนิ่ง เช่น นักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส กัปตันเรือ มัคคุเทศก์ ผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไม่หยุดนิ่งเช่น นักคิด นักเขียน นักโฆษณา นักออกแบบ เป็นต้น
ปางที่ 24 : พระอุททันตะ คณปติ (Uddanda Ganapati) วรรณะสี แดง มี 10ทรงโถใส่ขนม หรือน้ำผึ้ง ดอกบัว ดอกลิลลี่สีฟ้า คทา ต้นอ้อย กิ่งไม้ บ่วงบาศ พวงมาลัย และผลทับทิม โดยใช้กรซ้ายโอบพระชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย อำนวยผลด้านขจัดทุกข์ภัย และอาถรรพณ์ต่างๆ บันดาลให้ครอบครัวมีความสุข
ปางที่ 25 : พระรีนาโมจัน คณปติ (Runamochana Ganapati) เหมาะบูชาสำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ให้ดีขึ้น (พลิกดวงชะตา) แก้ไขกรรมเก่า ปลดหนี้สิน ล้างมลทินทั้งปวง
ปางที่ 26 : พระตันติ คณปติ (Dhundhi Ganapati) วรรณะสีแดง มี ๔ทรงูกประคำ ขวาน โถใส่อัญมณี ที่แสดงขุมทรัพย์ของผู้มีพุทธิปัญญา อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านใช้ความคิด ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ทุกแขนง
ปางที่ 27 : พระทวิมุข คณปติ (Dwimukha Ganapati) วรรณะสีเนื้อ มี 2 เศียร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และโถอัญมณี เป็นปางที่เป็นคนที่ปรับตัวได้กับทุกคนให้ทรัพย์มาก และขจัดอวิชา อำนวยผล ให้กับผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ด้านติดต่อเจรจา ประสานงาน เป็นสื่อกลางต่างๆ นักการทูต นักจิตวิทยาที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง ปางที่ 28 : พระตรีมุข คณปติ (Trimukha Ganapati) อำนวยผลทางด้านโภคทรัพย์ มีอำนาจ และแคล้วคลาดปลอดภัย ปางที่ 29 : พระสิงหะ คณปติ (Sinha Ganapati) วรรณะสี ขาว มี 8 กร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพรทรงช่อดอกไม้ ราชสีห์ พิณ ดอกบัว โถอัญมณี ประทับบนสิงโต (คล้ายพระเหรัมภะคณปติ) หมายถึงพลังอำนาจในการปกครองบริวาร ผิววรกายขาวเป็นสัญลักษณ์ของพลังบริสุทธิ์ หรือการหลุดพ้น การอำนวย ผลและสถานที่สำหรับตั้งบูชา เป็นดุจเดียวกับ พระเหรัมภะคณปติ และพระวีรคณปติ คืออำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท ปางที่ 30 : พระโยคะ คณปติ (Yoga Ganapati) วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงูกประคำ ต้นอ้อย บ่วงบาศ และขอสับช้าง เป็นปางแห่งพระเวท และการรักษาโรคภัยต่างๆ อำนวยผลให้กับผู้เป็นอาจารย์ และนักศึกษาโยคะสมาธิแบบต่างๆ เหมาะสำหรับตั้งบูชาไว้ในสถานศึกษา ปางที่ 31 : พระทุรคา คณปติ (Durga Ganapati) วรรณะสีทอง มี 8ทรงะบอง คันศร ลูกศร บ่วงบาศ ธงชัย ลูกประคำ และขนมโมทกะ เป็นปางที่พระราชาในชมพูทวีปนิยมสักการบูชามากปางหนึ่ง ปางที่ 32 : พระสังกตะหะรา คณปติ (Sankatahara Ganapati) วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ประทับนั่งบนดอกบัวสีแดง พระหัตถ์ขวาอำนวยพร อำนวยผลให้ครอบครัวมีความสุข หรือประสบความสำเร็จ ตามแต่จะอธิษฐาน |
พนักงานประจำ แม่บ้าน นักศึกษา เจ้าของธุรกิจทำรายได้ หลักหมื่น-100,000 บาท/เดือน จากระบบการทำงานผ่าน Internet โดยใช้โปรแกรม Computer เพียงมีเวลาว่างวันละ 2-5 ชม/วันเท่านั้น คุณเองก็สามารถสร้างรายได้ 2,000 - 8,000 บาท/สัปดาห์ ด้วยวิธีง่ายๆผ่านระบบ INTERNET หากคุณ..เป็นคนหนึ่งที่จริงจัง และต้องการมีรายได้เสริมจากการทำงานผ่าน INTERNET เราพร้อมที่จะสอนคุณอย่างเต็มความสามารถด้วยระบบที่สุดยอดที่เรามีอยู่ในขณะนี้...
วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554
รู้เรื่องพระพิฆเนศ 32 ปาง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น