วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วางแผนให้ดี ก่อนสมัครใจลาออก

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่คนทั่วโลกกำลังประสบอยู่ในขณะนี้อาจส่งผลให้คนทำ งานและผู้ประกอบการหายใจไม่ทั่วท้อง ต้องพยายามประคับประคองกิจการให้ผ่านช่วงครึ่งปีแรกของปีไปให้ได้ เพราะคาดการณ์กันว่าช่วงครึ่งปีหลังอะไร ๆ จะเริ่มปรับตัวดีขึ้น

สำหรับหน่วยงานที่เจอมรสุมเข้าอย่างจังอาจต้องลดต้นทุนด้วยการยื่นข้อเสนอ ที่น่าสนใจให้แก่พนักงาน อย่างเช่นโครงการ Early Retire หรือ โครงการสมัครใจลาออก พร้อมมอบเงินชดเชยเพื่อเป็นทุนในการตั้งตัวประกอบกิจการเล็ก ๆ ของตัวเองได้

เศรษฐกิจเช่นนี้ ใครที่คิดจะออกจากงานอาจต้องคิดให้รอบคอบ ถ้วนถี่ และชั่งน้ำหนักให้ดี ก่อนที่คุณจะตัดสินใจลาออกจาก
งานประจำลองอ่านคำแนะนำต่อไปนี้เสียก่อน เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องของคุณ
1. งานปัจจุบันของคุณ

* หากบริษัท ที่คุณทำงานมีโครงการมอบผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ที่สมัครใจลาออก หรือ Early Retire ควรมีการระบุอย่างชัดเจนว่าเมื่อไรที่คุณจะได้รับผลประโยชน์ที่ตกลงกันไว้
* ตรวจ สอบในเรื่องการประกันสุขภาพที่บริษัทจัดให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงาน เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายเองเมื่อลาออกแล้วว่าคุ้มกันหรือไม่
* หาก เจ้านายคุณเคยชื่นชมที่คุณทำงานได้ดี คุณอาจลองขอร้องให้เขาช่วยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นหนังสือรับรอง เพื่อที่คุณจะได้เก็บไว้อ้างอิงได้
* หาโอกาสเข้าอบรม/สัมมนาหากบริษัทออกค่าใช้จ่ายให้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของคุณในอนาคต

2. การวางแผนการเงิน

* ต้องแน่ใจว่าสถานะทางการเงินของคุณมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ แต่ถ้ายังไม่มั่นใจ ให้สร้างเครดิตให้ดีเสียก่อนที่จะออกจากงาน เนื่องจากพนักงานที่มีเงินเดือนประจำจะมีเครดิตดีกว่าคนที่มีอาชีพอิสระที่รายได้ไม่แน่นอน
* คุณ ควรจะมีเงินเก็บพอสมควร ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรจะออมเงินไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปีสำหรับก่อร่างสร้างกิจการเล็ก ๆ ได้ ทั้งนี้เมื่อนำมารวมกับเงินชดเชยที่คุณจะได้รับเมื่อออกจากงานก็จะทำให้คุณ มีสถานะทางการเงินที่เข้มแข็งขึ้นทั้งเงินทุนสำหรับการบริหารกิจการ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วย

3. การประเมินตนเอง

* ถาม ตัวคุณเอง และถามคนรอบตัว ว่าคุณมีคุณสมบัติของคนที่จะเป็นเจ้าของกิจการหรือยัง เช่น คุณได้กำหนดเป้าหมายของคุณไว้หรือยัง คุณสามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนทำธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด คุณมีความยืดหยุ่น มีวินัยในตนเอง รวมทั้งมีความมั่นใจการทำธุรกิจมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
* ประเมินทักษะความสามารถและการศึกษาของคุณว่าจำเป็นจะต้องศึกษาหรือรับการอบรมเพิ่มเติมในเรื่องใดอีกบ้าง

4. ประเมินตลาด

* ก่อน จะเริ่มต้นทำธุรกิจต้องหาข้อมูลของสิ่งที่คุณจะทำให้ดีเสียก่อน ว่าตอนนี้เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ทำอะไรจะรุ่ง ทำอะไรจะร่วง ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่คุณจะทำนั้นจะได้รับผลตอบรับที่ดี

ถ้า ประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้พร้อมแล้ว ก็สามารถตัดสินใจเดินตามความฝันของคุณได้เลย แต่หากยังไม่พร้อม คุณอาจต้องใช้เวลาในการเกี่ยวเก็บความรู้ใส่ตัวให้มากพอ รวมทั้งเก็บหอมรอมริบไว้เป็นทุนในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้ก้าวต่อไปของคุณดำเนินไปอย่างถูกที่ถูกเวลา และเป็นก้าวที่มั่นคงที่สุดกับการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น